ทราบกันอยู่แล้วทั้งคนไข้โรคไต คนไข้ความดัน คนไข้หัวใจและบุคคลทั่วไป ควรจะคุมอาหารเค็ม ควรจะลดโซเดียมเพราะว่าการที่ทานโซเดียมมากขึ้นก็จะมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงเสี่ยงเป็นโรคไต

1. ซอสปรุงรส
เมื่อทานอาหารก็จะมีการปรุงมาให้อยู่แล้ว คำแนะนำก็คือว่าถ้าเกิดเขาปรุงมาให้แบบไหนพยายามเติมให้น้อยที่สุดหรือว่าถ้าเกิดไม่ปรุงได้ก็จะดี ในช่วงแรกอาจจะค่อยๆพยายามเลี่ยงก่อนท่านใดที่ยังชิ้นอยู่กับการที่ต้องหยอดน้ำปลาเยอะๆก็ในช่วงแรกหักไปเลยไม่ใส่เลยก็อาจจะทานแล้วไม่อร่อยจะค่อยๆลดก่อนเช่น ต้องใส่ 3 ช้อนก็เหลือสักช้อนเดียวอย่างนี้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ก็ค่อยๆเปลี่ยน
- น้ำปลา
- ซีอิ๊วขาว
- ซอสปรุงรส
- ซอสถั่วเหลือง
- ซอสหอยนางรม
- เต้าเจี้ยว
- ซอสพริก
- ซอสเปรี้ยว จิ๊กโฉ่ว
- ซอสมะเขือเทศ
พวกซอสต่างๆบางคนจะมันคงจะลืมไป อย่างสมมุติว่าเราไปทานอาหารแล้วเราก็เติมซอสที่จะเป็นซอสมะเขือเทศ ซอสพริกที่มีโซเดียม เราจะรู้สึกว่ามันหวานแต่ที่จริงก็คือมีโซเดียมเยอะ รวมถึงพวกซุปก้อนซุปผงปรุงรสอย่างนี้เป็นต้น
2. อาหารขบเคี้ยว
- มันฝรั่งทอด
- สาหร่ายทอด
- ป๊อปคอร์น
- ขนมข้าวโพดอบกรอบ
ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีทั้งโซเดียมแล้วก็มีไขมัน ถ้าเกิดว่าทานก็ควรจะทานให้น้อยลง
3. อาหารกระป๋อง
- อาหารกระป๋องต่างๆ
- ปลากระป๋อง
- ปลาทูน่า
- ผัดหอยลายกระป๋อง
- อาหารสำเร็จรูปซึ่งสำเร็จรูปแบบเป็นซองเป็นถ้วย
- โจ๊กซอง โจ๊กถ้วย
- ซุปซอง
- ข้าวต้มซอง
4. อาหารตากแห้ง หมักดอง
- ไข่เค็ม
- ปลาเค็ม
- กุ้งแห้ง
- ปลาแห้ง
- กะปิ
- เต้าหู้ยี้
- ผักกาดดอง
- ไส้กรอก
- หอยดอง
- เต้าเจี้ยว
- ปลาร้า
- ผลไม้ดอง
5. อาหารแปรรูป
- ไส้กรอก
- เบคอน
- หมูหยอง
- หมูยอ
- หมูแผ่น
- กุนเชียง
- เนื้อตากแห้งต่างๆ
- เนื้อทุบ
- หมูทุบ
- ปลาเส้นปรุงรส
- เนื้อแดดเดียว
- แหนม