เรื่องสำคัญที่บางคนไข้ไตเรื้อรังก็จะเข้าใจว่าไตมี 5 ระยะก็ค่อยๆชะลอการเสื่อมของไตไปอย่างนี้เรื่อยๆแล้วถ้าเกิดเป็นระยะให้ท้ายถึงค่อยมาคุยกันเรื่องฟอกไตก็จะมีเวลาเตรียมตัวมีเวลาตัดสินใจกันค่อนข้างจะนาน บางคนเป็นสัปดาห์สัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นครึ่งปีอย่างนี้ได้เลยแต่ว่าจะมีบางภาวะที่พอมาถึงโรงพยาบาลแค่ไม่นานก็เป็นภาวะรีบด่วนเป็นภาวะฉุกเฉินที่หมอจะต้องจำเป็นจะต้องตัดสินใจให้คนไข้รีบฟอกเลือดไต

ภาวะฉุกเฉินต้องรีบฟอกไต
1. โพแทสเซียมสูง
- กลุ่มเสี่ยง
: ไตเรื้อรัง,เบาหวาน,ความดันสูง - ไตเฉียบพลัน
: ทำให้ไตไม่สามารถขับเกลือแร่ในร่างกายออกมาได้โพแทสเซียมในร่างกายจึงสูงมาก - ทานอาหารโพแทสเซียมสูง
- ทานยาที่ทำให้โพแทสเซียมสูง
- การรักษา
: ในช่วงแรกหมอจะให้ก่อนยาทางสายน้ำเกลือและเช็คเกลือแร่โพแทสเซียมถามีค่าลดลงก็ไม่จำเป็นที่จะต้องฟอกลือดไต - ถ้าสูงมาก/หัวใจเต้นช้า/หัวใจเต้นผิดจังหวะ ร่วมกับเกลือแร่ในโพแทสเซียมสูง ปัสสาวะออกน้อย
: ฟอกเลือดไต
2. เลือดเป็นกรด
- กลุ่มเสี่ยง
: ไตเรื้อรัง , เบาหวาน , ความดันสูง ภูมิคุมกันต่ำ (กินยาสเตียรอยด์/ยากดภูมินาน) - ไตเฉียบพลัน
- ติดเชื้ออย่างรุนแรง , ปอดอักเสบ , ติดเชื้อในกระแสเลือด , ช็อค
- ปัองกัน
: ฉีดวัคซีน ถ้ามีโรคประชำตัวจะมีวัคซีนฉีดให้โดยเฉพาะ - การรักษา
: ถ้าความรุนแรงเลือดเป็นกรดมีไม่มากจะให้ยาฉีดหรือยากิน ถ้ามีการตอบสนองของาที่ดีหมอจะยังไม่พิจารณาการฟอกเลือดไต - แต่ถ้าเลือดเป็นกรดรุนแรงสูงมาก/ไม่ตอบสนองกับการรักษาด้วยยา
: ฟอกเลือดไต
3. ภาวะน้ำเกิน
- กลุ่มเสี่ยง
: ไตเรื้อรัง,เบาหวาน,ความดันสูง,หัวใจ - ไตเฉียบพลัน
- ปัสสาวะอออกลดลง
- การรักษา
: ถ้าคนไข้ไม่มีอาการปัสสาวะออก ค่าการทำงานของไตไม่สูงมาก ไม่มีอาการเหนื่อย หมอจะให้ยาขับปัสสาวะให้อาการดีขึ้น - คนไข้กลุ่มถ้าน้ำเกินมาก ปัสสาวะน้อยมาก ค่าไตสูงมาก
: ฟอกเลือดไต ถ้าไม่ฟอกไตคนไข้ที่มีน้ำเกินในร่างกายจะเสี่ยงมีออกซิเจนในเลือดต่ำอาจทำให้ต้องใส่ท่อช่วยหายใจได้และจะเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาเช่น ปอดสักเสบติดเชื้อ